วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์

พื้นที่ : 263,800 ตารางกิโลเมตร (ครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แบ่งเป็น 16 แขวงและ เขตปกครองพิเศษ

ศาสนา :  ศาสนาพุทธ75%  นับถือผี 16-17% นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 100,000 คนและอิสลาม ประมาณ 300 คน

เชื้อชาติ : ลาวเทิง 55 % ลาวสูง 11 % และอื่นๆ 34%

ภาษาราชการ: ภาษาลาว

วันชาติ : ธันวาคม

ประชากร : 6.77 ล้านคน (2558)

ค่าแรงขั้นต่ำ : เดือนละ 2500  บาท

ระบบเงินตรา : สกุลเงินของประเทศลาวคือ กีบ สำหรับเงินกีบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศลาวส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นใบละ 1,000 2,000 5,000 10,000 20,000 กีบ


ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกจำปา 




ความหมายของธงชาติลาว 
  • สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
  • พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติ ลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง




    อาหารประจำชาติ
            สลัดหลวงพระบาง  (Luang Prabang Salad)  สลัดสุดอร่อยของประเทศลาว ที่มีรสชาติลงตัวสามารถรับประทานได้ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก ซึ่งส่วนประกอบก็จะคล้ายกับสลัดถั่วไปคือ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดหอม แต่จะพิเศษตรงที่จะเพิ่มผักน้ำ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีเฉพาะในประเทศลาวเท่านั้น ทานคู่กับไข่ต้มและหมูสับลวกสุก ราดด้วยสลัดน้ำใสพร้อมโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและถั่วลิสงคั่ว






    การแต่งกาย : 
    ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่นและเสื้อแขนยาวทรงกระบอก
    ผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย


    เทศกาล/ประเพณีต่างๆ

    บุญบั้งไฟ 
          จัดขึ้นเพื่อบูชาและขอฝนจากเทวดาก่อนถึงฤดูทำนา โดยแต่ละชุมชนจะแข่งบั้งไฟกันสร้างความสนุกสนานให้ชาวลาว (ขึ้นทั่วประเทศ แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ เมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์)



    บุญคูนลาน บุญกองข้าว 
           เป็นเทศกาลที่จัดหลังฤดูการเก็บเกี่ยว โดยจะมีพระสงฆ์มาทำพิธิเพื่อความเป็นสิริมงคล และแสดงความขอบคุณต่อแผ่นดิน เพื่อให้ปีต่อไปได้ผลผลิตดีขึ้น (จัดที่เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต)




    บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า)                                                                   
            บุญมหาสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ ของภาคอีสานกำหนดขึ้นในเดือนห้า มี3วัน ตั้งแต่13วันมหาสงกรานต์ 14 วันเนา 15 วันสุดท้ายเป็นวันเถลิงศก ชาวอีสานถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ พิธีในแจ่ละท้องถิ่นอาจต่างกัน เหมือนกันก็คือการสรงน้ำพระพุทธรูป   



    บุญผะเหวด 
           หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป




    บุญข้าวจี่
           เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้าแต่ละครอบครัวจะเตรียมข้าจี่ของตนเองไปเพื่อถวายพระ วิธีการทำข้าวจี่ จะนำจ้าวเหนี่ยวนึ่งมาปั้นเป็นก้อนกลมบ้างหรือก้อนรีบ้าง นำเกลือมาโรยให้ทั่วแล้วนำเป็นย่างไฟซึ่งชาวอีสานเรียกว่า จี่ เมื่อจี่ข้าวแห้งนิดหน่อยแล้วจึงนำข้าวจี่มาทาไข่(ไข่ต้องตีให้ขึ้นฟอง) นำไปจี่ต่อจนกระทั่งไข่สุกหอมจึงนำไปทำบุญตักบาตรตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ





          

    สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต


    ถ้ำปากอู (Pak Ou)




            ถ้ำปากอู หรือถ้ำติ่ง อยู่ในแขวงหลวงพระบาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวต้องนั่งเรือจากตัวเมืองในหลวงพระบางประมาณ 25 นาที เมื่อมาถึงบ้านปากอู ต้องนั่งเรือข้ามฝากมาฝั่งตรงข้ามจะพบถ้ำติ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำติ่งลุ่ม และถ้ำติ่งเทิ่ง เมื่อลงมาจากเรือจะพบทางเข้าถ้ำติ่งลุ่ม เป็นถ้ำที่มีโพรงไม่ลึก ภายในมีหินงอกหินย้อย และมีรูปปั้นพระพุทธรูปที่ทำจากไม้เต็มไปหมด เชื่อกันว่าในสมัยก่อนเคยถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับสักการบูชาดวงวิญญาณ ภูตผี แต่เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาในลาวจึงกลายเป็นศาสนสถานทางพุทธไป และเมื่อเดินไปอีกทางหนึ่งจะพบถ้ำเทิ่ง เป็นถ้ำที่ลึกมาก ภายในมีพระพุทธรูปเช่นกัน แต่มีจำนวนไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งลุ่ม


    ปราสาทหินวัดพู (Wat Phu)



              ปราสาทหินวัดพูตั้งอยู่บนเนินเขาพู ในแขวงจำปาสัก (Champasak) เป็นซากปรักหักพังของวัดฮินดูโบราณ ที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 นอกจากนี้ วัดพูยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกเพราะเคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน ตรงทางเข้าวัดพูนั้นมีหินปูเรียงรายสำหรับเดินเข้าวัด มีเสาเรียงตั้งเรียงอยู่หลายต้นขนาบข้างทางเดิน มีเรือนใหญ่ 2 หลัง ซุ้มประตูที่พลังทลาย หินสลักเป็นรูปเศียรช้าง และรูปปั้นหินรูปต่าง ๆ เช่น โยคี จระเข้ และมีพระพุทธรูปตั้งวางสำหรับกราบไหว้บูชา บรรยากาศที่ปราสาทแห่งนี้ให้ความรู้สึกถึงความอลังการ ความขลัง ผสมผสานกับความลี้ลับ น่าพิศวง อาจด้วยความเก่าแก่ตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันถูกใช้เป็นสถานที่ทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท

    ทุ่งไหหิน (Plain of jar)



               ทุ่งไหหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเมืองเชียงขวาง (Xieng Khouang) เป็นที่ราบกว้างเต็มไปด้วยหินรูปทรงคล้ายไหหรือโอ่ง มีความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ไหพวกนี้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ยุคหิน และน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมฝังศพ เพราะมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการฝั่งศพบริเวณรอบ ๆ นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ ไหหินยังมีร่องรอยของหลุมระเบิดที่ทิ้งลงมาโดยสหรัฐอเมริกาอีก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดจากนักโบราณคดีว่าที่มาของไหหินนี้เป็นมาอย่างไรกันแน่ แต่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติไปเรียบร้อยแล้ว

    สี่พันดอน (Si Phan Don )


            สี่พันดอน แปลว่า สี่พันเกาะนั่นเอง เป็นหมู่เกาะที่อยู่บริเวณแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาว ก่อนที่จะไหลเข้าเขตประเทศกัมพูชา ชาวบ้านแถบนี้ประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ และยังคงดำรงชีวิตแบบชาวชนบท มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เป็นเขตที่ค่อนข้างสงบทีเดียว จุดท่องเที่ยวหลัก ๆ มีอยู่ 3 แห่ง คือ ดอนคง ดอนคอน และดอนเด็ด  สำหรับดอนคงเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อนแบบชิล ๆ สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมความงามของธรรมชาติ สำหรับดอนคอนและดอนเด็ดเป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาค่อนข้างมาก จึงมีที่พักเปิดให้บริการกับผู้คนที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมธรรมชาติที่นี่ ที่สำคัญราคาที่พักไม่แพงเลย

    วังเวียง (Vang Vieng)


                วังเวียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ในเมืองวังเวียง ริมแม่น้ำซอง อยู่ห่างจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ 150 กิโลเมตร ตัวเมืองถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ ด้วยลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามไปด้วยธรรมชาติ มีทัศนียภาพอันงดงามของทิวเขาที่วางสลับตัวกัน เหมาะจะไปสูดอากาศบริสุทธิ์ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับกลิ่นอายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวลาวในชนบท เช่น เผ่าลาวสูง, ลาวเทิง, ลาวม้ง และไทลื้อ ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจประกอบด้วย เดินทางไกลชมป่าไม้ ปีนเขา ชมถ้ำ และล่องห่วงยางเล่นบนแม่น้ำซอง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีที่พัก ร้านอาหาร ร้านอินเทอร์เน็ต ตัวแทนบริษัทท่องเที่ยวเปิดให้บริการอย่างคึกคัก

    ประวัติศาสตร์

            แต่เดิมลาวอยู่ใต้การปกครองอาณาจักรน่าน ต่อมาก็ตกอยู่ในการปกครองของสยามนานถึง 114 ปี จนเกิดวิกฤติการณ์ ร.ศ.112 สยามต้องยกดินแดนลาวทั้งหมดให้เป็นของฝรั่งเศส
             ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นรุกเข้ามาในลาว ขบวนการลาวอิสระจึงได้ประกาศเอกราช   เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ลาวจึงตกอยู่ในอำนาจฝรั่งเศสอีกครั้ง
              ฝรั่งเศสแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ.2496 โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์
              ต่อมาเมื่อเจ้าสว่างวัฒนาขึ้นครองราชย์ต่อ เจ้าสุภานุวงศ์ หนึ่งในขบวนการลาวอิสระประกาศตนเป็นพวกนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการประเทศลาวออกเคลื่อนไหวทางการเมือง
               พ.ศ.2518 พรรคปฏิวัติประชาชนลาว ที่นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ ยึดอำนาจรัฐบาลของเจ้าสว่างวัฒนาได้สำเร็จ และประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518


    ระบอบการเมืองการปกครอง


    ประธานประเทศ : พลโทจูมมาลี ไซยะสอน
    รองประธานประเทศ : นายบุนยัง วอละจิด
    ประธานสภาแห่งชาติ : นางปานี ยาท่อตู้
    นายกรัฐมนตรี : นายทองสิง ทำมะวง

               ประมุขของ สปป.ลาว คือ ประธานประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสภาแห่งชาติ โดยได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสภาที่เข้าประชุม ประธานประเทศมีอำนาจลงนามประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ แต่งตั้ง หรือย้ายเจ้าแขวงตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ และให้นิรโทษกรรม เป็นต้น


    พลโทจูมมาลี ไซยะสอน (ประธานประเทศลาว)
    เขตการปกครอง : 17 แขวง ได้แก่ พงสาลี หลวงน้ำทา บ่อแก้ว หัวพัน หลวงพระบาง เชียงขวาง อุดมไซ ไซยะบุลี เวียงจัน บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน จำปาสัก เซกอง อัดตะปือ ไชยสมบูรณ์ และ 1 นครหลวง (นครหลวงเวียงจันทน์)

    แขวงที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แขวงสะหวันนะเขต (21,774 ตารางกิโลเมตร)
    แขวงที่มีพื้นที่เล็กที่สุด คือ นครหลวงเวียงจันทน์ (3,960 ตารางกิโลเมตร)






    ตราแผ่นดิน : 
              ปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า  "เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก



    แผนที่


    ภาษาลาว

      หมวดคำทักทาย 

    สวัสดี
    สะบายดี
    ขอบคุณ
    ขอบใจ
    สบายดีไหม
    สบายดีบ่
    ยินดีที่ได้รู้จัก
    ยินดีที่ฮู้จัก
    พบกันใหม่
    เห็นกันใหม่
    ลาก่อน
    ลาก่อน

    หมวดการนับเลข

    หนึ่ง
    หนึ่ง
    สอง
    สอง
    สาม
    สาม
    สี่
    สี่
    ห้า
    ห้า
    หก
     หก
    เจ็ด
     เจ็ด
    แปด
     แปด
    เก้า
     เก้า
    สิบ
     สิบ


    หมวดคำบอกรัก ..  >>  ข้อยฮักเจ้า